เมนู

ตามแรงลมอย่างนี้. ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า กายของเราย่อมเลื่อนลอย
ได้เหมือนปุยนุ่น ที่ถูกลมพัดไปฉะนั้น ดังนี้. คาถานั้นมีใจความว่า ในเวลาใด
เรามีความประสงค์ จะไปสู่พรหมโลก หรือโลกอื่นด้วยฤทธิ์ ในเวลานั้น กาย
ของเราก็จะโลดไปสู่อากาศทันที เหมือนปุยนุ่น ที่วิจิตร อันลม คือ พายุพัดไป
ฉะนั้น.
จบอรรถกถาขิตกเถรคาถา

5. มลิตวัมภเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระมลิตวัมภเถระ


[242] ได้ยินว่า พระมลิตวัมภเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราเกิดความกระสันขึ้นในที่ใด เราย่อมไม่อยู่ใน
ที่นั้น แม้เราจะยินดีอย่างนั้น ก็พึงหลีกไปเสีย แต่
เราเห็นว่า การอยู่ในที่ใดจะไม่มีความเสื่อมเสีย เราก็
พึงอยู่ในที่นั้น.

อรรถกถามลิตวัมภเถรคาถา


คาถาของท่านพระมลิตวัมภเถระ เริ่มต้นว่า อุกฺกณฺฐิโต. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเถระนี้ เกิดเป็นนก ในสระธรรมชาติแห่งหนึ่ง ไม่ไกล
จากป่าหิมพานต์ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ เมื่อจะทรงอนุเคราะห์นกนั้น